ส่วนประกอบของงานเขียนที่ต้องมีคํานํา เนื้อเรื่อง สรุป ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่ทำให้การจัดเรียงเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ สามารถเรียงร้อยต่อกันได้อย่างถูกต้องตามเหตุการณ์ที่ควรจะเกิดขึ้น ทำให้การจัดเรียงเนื้อหา ทั้งง่ายและผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจทุกอย่างได้ตามเหตุการณ์ ทำให้การอ่านเนื้อหาเหล่านั้นเป็นไปอย่างน่าติดตามและไม่สับสนว่า เหตุการณ์ไหนเกิดขึ้นก่อนหลัง แน่นอนว่าหลักการนี้ใช้กันมากในงานเขียนเรียงความ ซึ่งอาจจะไม่ได้ยาวเหมือนการเขียนเนื้อหาให้ความรู้ แต่ก็สามารถนำส่วนประกอบเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้แน่นอน
การเกริ่นนำคํานํา เนื้อเรื่อง สรุปให้น่าสนใจตั้งแต่บรรทัดแรก
จุดประสงค์ของการเขียนคํานําคืออะไรควรเขียนอย่างไรที่จะทำให้ผู้อ่านเข้ามาอ่านให้มากที่สุด การใช้คํานํา เนื้อเรื่อง สรุปที่น่าสนใจตั้งแต่บรรทัดแรกเป็นทักษะที่จำเป็น การ Attract ผู้อ่าน ถือเป็นอีกหนึ่งสกิลในการเขียนงานสำหรับผู้เขียนอยู่แล้ว วันนี้ทางเรามีหลักการง่าย ๆ ในการเขียนคำนำอย่างไรให้สามารถดึงดูดสายตาของผู้อ่านได้ทันที เรามาเริ่มต้นที่หลักการง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
ใช้คำพูดที่น่าสนใจ
ให้คำถามหรือประโยคต้นเริ่มที่กล่าวถึงปัญหาหรือสิ่งที่คุณจะอธิบายในเนื้อหา เช่น “เคยมีครั้งหนึ่งที่เราต้องเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยคาดคิด…” หรือ “เคยรู้สึกว่าโดนเอาเปรียบในที่ทำงานหรือเปล่า?” ก่อนจะพาเข้าสู่เนื้อเรื่องเรียงความและรายละเอียดต่อไป
ใช้เหตุการณ์สำคัญหรือข้อมูลที่น่าสนใจ
นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจและการมองภาพกว้างของเนื้อหา หรือเรื่องที่คุณต้องการจะเขียน เพื่อให้ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น “ตามรายงานล่าสุด มหาวิทยาลัยที่อยู่ในรายชื่อ 10 อันดับแรกของโลกเปิดตัวโครงการวิจัยเรื่องการกินเนื้อมนุษย์…” หรือ “จังหวัดภูเก็ตยกเลิกการให้บริการพารามิเตอร์ริมหาดแล้ว…”
เล่าเรื่องราว
ใช้เรื่องราวที่น่าสนใจในการเกริ่นนำของคุณ เพื่อทำให้ผู้อ่านติดตามเนื้อหาของคุณต่อไป เช่น “คุณอาจไม่เชื่อ แต่มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง…” หรือ “เสียงเปิดประตูที่ดังขึ้นโดยในขณะที่ทุกคนยังรวมกันอยู่ตรงนี้…” เป็นการเล่าเรื่องราวที่เริ่มต้นให้น่าสนใจเพื่อให้อยากอ่านต่อ เปิดเผยข้อมูลแต่แรกเลย แต่ไม่มีรายละเอียดทำให้น่าติดตามขึ้น
นำเสนอปัญหาหรือคำถามที่ท้าทาย
ถามคำถามที่ท้าทายให้กับผู้อ่าน เพื่อเริ่มความสนใจในเนื้อหาของคุณจะทำให้บรรทัดแรกของคุณมีประสิทธิภาพในการหลุดสายตาผู้อ่านได้ง่ายขึ้น เช่น “คุณรู้หรือไม่ว่ามีวิธีที่ใช้ชีวิตที่คุณต้องคิดต่างกับที่เคย…” หรือ “แค่ไขว่ห้างติดต่อกันนานเกิน 3 ชั่วโมงทุกวันทำให้เส้นเลือดขอดได้…” เห็นชัดหรือยังว่าการนำปัญหาที่อาจจะเป็นปัญหาของผู้อ่าน หรือการตั้งคำถามให้ดูท้าทายทำคนอยากอ่านเนื้อเรื่องต่อได้
ใช้สาระความรู้หรือความเข้าใจใหม่ ๆ
เปิดเผยข้อมูลหรือแนวคิดที่อาจไม่ค่อยรู้จักหรือผู้คนมักไม่ค่อยคิดถึง เพื่อทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าได้รับความรู้ใหม่ๆ จากการอ่านเนื้อหาของคุณ ซึ่งข้อนี้อาจจะเป็นอะไรใหม่ ๆ ที่คนอาจจะไม่เคยรู้จักหรือเหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยก็ได้ ทำให้เนื้อหาดูน่าสนใจมากขึ้น โดยใช้วิธีการเกริ่นนำผลลัพธ์ไปก่อน ทำให้ผู้ผ่านรู้ได้ง่ายขึ้นว่าเนื้อหาจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร
ใช้ความอยากรู้อยากเห็นให้เป็นประโยชน์
เริ่มต้นคำนำด้วยการก่อให้เกิดความอยากรู้ในเนื้อหาของคุณ โดยเชื่อมโยงกับเรื่องราวหรือสิ่งที่น่าสนใจ เช่น “คุณต้องการทราบว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจริง ๆ หรือเปล่า…” หรือ “ไปใช้ชีวิตอยู่ในลอนดอนใช้เงินเท่าไหร่ในแต่ละวัน…” กระตุ้นความอยากรู้ให้อ่านต่อได้ดี
ให้ข้อมูลที่มีความสำคัญและน่าสนใจมาก่อน
ส่งผ่านข้อมูลที่น่าสนใจเสมอเพื่อไม่ให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยกับเนื้อหาของคุณ แน่นอนว่าการเกริ่นนำหรือการเขียนคํานํา เรียงความจะต้องมีความน่าสนใจแล้ว แต่การเขียนเนื้อหาให้น่าสนใจและสามารถทำให้ผู้อ่านติดใจอ่านต่อได้อย่างไม่อยากวางสายตา ต้องนำข้อมูลที่มีความสำคัญมาอธิบาย แต่ต้องใช้คำที่น่าสนใจและมีศิลปะในการดึงดูดผู้อ่านให้อยู่ต่อได้ด้วย
ไม่มีข้อกำหนดว่าคํานํา เนื้อเรื่อง สรุป กี่บรรทัดแค่เนื้อหาต้องเข้มข้นน่าติดตามอยู่เสมอ
หลายคนเข้าใจผิดว่าอยากเขียนบทความให้ขายได้ต้องเขียนให้ยาวที่สุด แต่จริง ๆ แล้วความเข้มข้นของเนื้อหาต่างหากที่จะทำให้บทความขายดี มีผู้อ่านติดตามมากมาย เพราะฉะนั้น
- ส่วนประกอบทั้งสามส่วนของการเขียน ไม่มีกำหนดตายตัวว่าต้องสั้นหรือยาวกี่บรรทัด
- ส่วนสรุปก็เพียงแค่ต้องเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้เข้าใจง่ายที่สุด
- อย่าเขียนอะไรที่ไม่จำเป็นเพราะคิดว่าต้องเขียนให้ยาวขึ้นเท่านั้น
- เน้นสาระสำคัญที่น่าสนใจและตรงไปตรงมาจะทำให้เขียนบทความยาว ๆ ได้ง่ายขึ้น
ส่วนประกอบการเขียนคํานํา เนื้อเรื่อง สรุปช่วยในการเรียงร้อยบทความให้ไม่สับสน
หากแยกส่วนประกอบเหล่านี้ออกมาเป็นข้อ ๆ ก็สามารถอธิบายวิธีการใช้งานคํานํา เนื้อเรื่อง สรุป ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยแบบละเอียดได้อีก แต่หลัก ๆ แล้วส่วนประกอบทั้งสามส่วนนี้ เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในการเขียน ทั้งบทความ นิยาย แคปชันโฆษณา จะช่วยให้จัดลำดับเรื่องราวได้ง่ายขึ้นและตรงประเด็นกว่า ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำจากทีมงานรับเขียนบทความ Alphagreenseo ที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ผ่านที่สนใจเขียนบทความ หรือเรียงยาว ๆ ได้ ไม่มากก็น้อย