บทความภาษาไทย

การเขียนบทความภาษาไทยมีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบทความวิชาการ บทความท่องเที่ยว บทความให้ความรู้ เกี่ยวกับการศึกษา หรือบทความที่ให้คำแนะนำที่เรา ๆ รู้จักกันดีในนามของหนังสือพัฒนาตนเอง ทั้งหมดที่อาจจะมีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไปแต่ว่าหลักการเขียนยังค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง วันนี้ทาง Alphagreenseo จึงจะมาแนะนำกฎเหล็กในการเขียนสำหรับรับเขียนบทความภาษาไทยที่น่าสนใจเพื่อใช้ในจุดประสงค์ต่าง ๆ ของการเขียนบทความ เพื่อให้สามารถสื่อได้อย่างตรงประเด็นที่สุด

บทความภาษาไทยที่น่าสนใจ

หลีกเลี่ยงการใช้คำหนักหรือภาษาโบราณในบทความภาษาไทย

หากไม่ใช่บทความทางวิชาการผู้เขียนไม่จำเป็นต้องใช้คำที่หนักหรือเป็นภาษาที่เข้าใจยาก เพราะว่าการจะสื่อสารผ่านบทความภาษาไทยให้ตรงประเด็น และบทความสามารถทำหน้าที่ของมันได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่ายและไม่มีความซับซ้อน เพราะฉะนั้นการประดิษฐ์คำพูดให้สวยงามต้องทำให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการอ่านที่เข้าใจได้ง่ายด้วย มิเช่นกันบทความจะไม่สามารถทำหน้าที่ที่ต้องการได้ แนะนำว่าอย่าดูตัวอย่างบทความวิชาการภาษาไทย แต่ให้ดูวิธีการเขียนคำโฆษณา หรือบทความให้ความรู้จากนักเขียนผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวอย่างดีกว่า

บทความภาษาไทยฝึกอ่าน

สื่อสารอย่างไรให้เข้าใจตรงกันภายใต้ 4 หลักการเขียนบทความต่อไปนี้

แม้ว่าการเขียนบทความภาษาไทย สร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบ แต่หากคุณทำตามคำแนะนำทั้งสี่ข้อต่อไปนี้ จะทำให้ผู้รับสาร สามารถเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการสื่อและเข้าใจตรงกันได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะภาษาไทยประโยคหนึ่งประโยคสามารถแปลได้หลายความหมาย ลองยึดตามหลักการนี้ดูอาจจะช่วยคุณได้

1. กำหนดเป้าหมายแล้วแบ่งเป็นหัวข้อก่อนเขียน

เพื่อให้รูปแบบการเขียนชัดเจนมากยิ่งขึ้น การกำหนดหัวข้อก่อนให้ชัดเจนถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน หากไม่อยากเขียนออกทะเล หรือเขียนสิ่งที่ไม่จำเป็นที่ดูเหมือนจำเป็นลงไป เพราะเหล่านี้จะทำให้ผู้อ่านลดความสนใจลงไปง่ายมาก วางเป้าหมายในการสื่อสารที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น หากคุณมั่นใจแล้วว่าคุณต้องการจะสื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้โฟกัสแค่นั้นไปเลย จะทำให้บทความดูมีคุณค่ามากกว่า

2. ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

หากคุณรู้แล้วว่าต้องการเขียนบทความนี้ให้กับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี อาจจะต้องเรียนรู้การเขียนบทความภาษาไทยกับวัยรุ่นไทยไว้บ้าง หรือใช้ภาษาที่กระตุ้นความน่าสนใจให้กับบุคคลเหล่านี้ให้มากขึ้นเล็กน้อย อาจจะเลือกจับประเด็นที่คนวัยนี้เข้าถึงได้ง่าย อย่างการสร้างคอนเทนต์ Tiktok สร้างอย่างไรให้เหรียญขึ้น หากคุณไม่รู้จักการรับเงินของ Tiktok ก็จะไม่รู้เลยว่าต้องใช้คำอย่างไร เพราะฉะนั้นเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริง ต้องเรียนรู้คำศัพท์ที่คนเหล่านั้นใช้จริงด้วย

3. เรียนรู้การใช้ Active Voice ให้คล่อง

Active Voice หมายถึงการใช้ประโยคที่ผู้กระทำหรือประธาน (Subject) อยู่ในตำแหน่งหน้าประโยค และคำกริยา (Verb) ให้เป็นกริยาในรูปแบบของกริยาที่ใช้ในคำสั่ง (Imperative) หรือกริยาที่ใช้ในปัจจุบัน (Present Tense) เพื่อให้เนื้อหาของประโยคเป็นไปในลักษณะที่กระตุ้นและเป็นศักยภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • Passive Voice คนนั้นถูกกระทำโดยกลุ่มทหาร
  • Active Voice กลุ่มทหารทำร้ายคนนั้น

ใน Passive Voice ผู้กระทำ (Subject) จะอยู่ในตำแหน่งหลังประโยค และผู้รับกระทำ (Object) จะอยู่ในตำแหน่งหน้าประโยค ทำให้เนื้อหาดูนูนนุ่มลดลง และไม่เน้นการกระทำของผู้กระทำเท่าไร การใช้ Active Voice จะช่วยให้บทความดูมีความกระชับ น่าสนใจ และชัดเจนขึ้น เนื่องจากผู้อ่านสามารถรับรู้ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำกริยา และมีความชัดเจนกว่าใน Passive Voice ที่อาจทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับผู้กระทำของเหตุการณ์

4. เขียนเสร็จแล้วให้กลับไปอ่านทุกอย่างใหม่เสมอ แต่อย่าเปลี่ยนเนื้อหา

หลายครั้งปัญหาในการปรับเขียนหรือ edit เนื้อของเนื้อความที่มากเกินไป เพราะกลับไปอ่านแล้วรู้สึกว่าบทความสามารถดีกว่านี้ได้อีกทั้งที่มันดีอยู่แล้ว แนะนำว่าพยายามอย่าไปแตะตรงนี้จะดีกว่า เน้นให้อ่านได้ลื่นไหน มีคำเชื่อมที่ถูกต้องและมีการสะกดคำด้วยไวยากรณ์ตามหลักแล้วก็พอ เพราะหลายครั้งพอเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อยก็กลายเป็นการทำลายโครงสร้างทั้งหมดของเนื้อเรื่องเลยทันที แก้แค่ให้อ่านง่ายขึ้นพอ ไม่ต้องแก้ให้ดีขึ้น

อย่าลืมพัฒนาฝีมือด้วยการบทความภาษาไทยฝึกอ่านให้มาก เพื่อเรียนรู้จากมืออาชีพ

ลองหานักเขียนสักคนที่คุณชอบ แล้วติดตามศึกษางานเขียนของพวกเขาให้ดี ลักษณะการเขียนเฉพาะตัวหลาย ๆ อย่างอาจจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาให้กับคุณได้ หรือบางคนอาจจะเป็นตัวอย่างที่แย่ที่คุณอาจจะไม่อยากทำตามก็ช่วยให้คุณพัฒนาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น

  • หาบทความที่เกี่ยวข้องอ่านบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย
  • มองลักษณะการเขียนที่ดีให้ออกแล้วลองเทียบกับการเขียนที่แย่ดู
  • พัฒนาฝีมือตัวเองด้วยการหัดเขียนบ่อย ๆ จะช่วยให้คุณภาพงานดีขึ้นได้
  • วิดีโอในยูทูบ ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งหาข้อมูลชั้นดีช่วยเพิ่มทักษะได้

สร้างบทความภาษาไทยได้ไม่ยาก จุดสำคัญคือต้องรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร

กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ใช้คำที่เข้าใจง่ายที่สุดและไม่ซับซ้อน วางโครงสร้างเนื้อหาที่สอดคล้อง เริ่มต้นให้น่าสนใจแล้วเลือกใช้ Active Voice ให้ถูกต้อง เพียงเท่านี้การสื่อสารผ่านตัวหนังสือของคุณก็จะไม่ถูกเข้าใจผิดแล้ว สื่อสารได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นบทความทางวิชาการ บทความโฆษณา บทความข่าว หรือการให้ความรู้อื่น ๆ หลักการทั้งสี่นี้ช่วยกันสโคปงานของคุณให้เล็กลง จับความหมายของประโยคได้ง่ายขึ้นและผู้อ่านสามารถรับสารได้อย่างตรงประเด็นขึ้นแน่นอน

Scroll to Top